วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แข็งแรงได้... เริ่มต้นง่ายๆ จาก 1 ก้าวเดิน

บางครั้งการเดินออกกำลังกายก็ไม่ใช่สักแต่ว่าเดินๆๆ เพราะหนึ่งก้าวของคุณมีความหมายมาก เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะก้าวออกไปแบบไหนให้ร่างกายแข็งแรง แต่เรามีเคล็ดลับมาบอก
1. เริ่มจากหารองเท้าที่ใส่สบาย เดินนานๆ แล้วไม่เจ็บ เวลาซื้อก็อาจจะซื้อรองเท้าสำหรับวิ่ง แล้วหาสถานที่กว้างๆ อย่าง สวนสาธารณะ หรือพื้นที่ในหมู่บ้าน
2. เดินได้เลย ทุกๆ 30 วินาทีให้เพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับความเร็วที่คุณคิดว่าพอสำหรับการเดินเร็ว 3. เมื่อคุณเดินเร็วจนถึงจุดสูงสุด คอยรักษาระดับนี้ไปเรื่อยประมาณ 30 นาทีแต่ต้องมั่นใจว่าเดินไม่ใช่การวิ่งจนเหนื่อยหอบ แต่ในครั้งแรกๆ คุณอาจใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็ได้ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาให้นานขึ้นทุกๆ สัปดาห์ และจะสังเกตุได้ว่าร่างกายคุณจะแข็งแรงมากขึ้น
4. นึกไว้อยู่เสมอว่าคุณเดินอย่างไร ต้องรู้ว่าตัวเองเดินอย่างถูกต้องหรือยัง เพราะถ้าไม่คุณจะเจ็บข้อเท้าได้และปวดเมื่อยได้ วิธีเดินให้ถูกต้องคือ ให้ส้นเท้าแตะพื้นก่อนแล้วค่อยๆ วางฝ่าเท้า และนิ้วเท้าหลังสุด เดินต่อไปด้วยฝ่าเท้าทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความเป็นมาของรางวัลโนเบล (Nobel prize)

อัลเฟร็ด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ชุดดินระเบิดที่เรียกว่า ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerine) หรือระเบิดไดนาไมต์ รู้สึกเสียใจที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1896เขาระบุในพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติให้นำไปตั้งมูลนิธิโนเบล เพื่อเป็นการสนับสนุน และมอบรางวัลให้แก่บุคคลที่มีผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ โนเบลแสดงเจตนารมณ์ไว้ในพินัยกรรมของเขาอย่างชัดแจ้งว่า "...It is my express wish that in awarding the prizes no consideration be given to the nationality of the candidates, but that the most worthy shall receive the prize, whether he be Scandinavian or not. ..." ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับรางวัลนี้ต้องเป็น "บุคคลผู้อำนวยคุณประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ โดยไม่จำกัดว่าบุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติไหน พูดภาษาใด "
พิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคม โดยจัดขึ้นครั้งแรกหลังจากโนเบลเสียชีวิตไปได้ 5 ปี (ค.ศ. 1901) มี 5 สาขา คือ คือ ฟิสิกส์(physics) เคมี (chemistry) การแพทย์และสรีรวิทยา (physiology ormedicine) วรรณกรรม (literature) สันติภาพ (peace) และในปี ค.ศ. 1969จึงเพิ่มรางวัลอีก 1 สาขา คือสาขาเศรษฐศาสตร์ (economic) ผู้พระราชทานรางวัลโนเบลคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดนแม้ว่าบางปีรางวัลบางสาขาอาจไม่มีการตัดสิน แต่มีข้อกำหนดว่าระยะเวลาของการเว้นการมอบรางวัลต้องไม่เกิน 5 ปี รางวัลที่มอบให้ประกอบด้วย เหรียญทองที่ด้านหน้าสลักเป็นรูปหน้าของอัลเฟร็ด โนเบล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณและเงินสด
รางวัลโนเบลถือ เป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่และทรงเกียรติของชาวโลก ถือเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติ บ่งบอกถึงความเก่งกาจ ยอดเยี่ยม และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความสงบและสันติของสังคมโลก

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง...รู้ไว้ไม่เป็นหนี้

บางคนอาจใช้ขีดเส้นขนาน แล้วเขียนข้อความ / เซ็นรับรอง วันนี้เอาวิธีเซ็นชื่อรับรองสำเนาที่ถูกต้อง มาแบ่งปันให้คุณรู้ไว้จะได้ไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ประมาทไม่ได้เลยล่ะ เพราะหากเซ็นไม่ถูกวิธีแม้เพียงนิดเดียว คุณอาจตกเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวจากผู้ที่ไม่ประสงค์ดีที่นำเอาเอกสารสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาเอกสารสำคัญอื่นๆ จากการเซ็นรับรองของเราไปทำประโยชน์ส่วนตน แต่สร้างหนี้ที่ไม่ได้ก่อให้กับเรา ดังนั้นจึงขอแนะนำว่า...ทุกครั้งหากต้องเซ็นเอกสารรับรองสำเนาอย่าลืม ...จำ...และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1) ทุกครั้งหลังจากเซ็นชื่อ และเขียนรับรองสำเนาถูกต้องแล้ว ต้องเขียนรายละเอียดกำกับไว้ด้วยว่า เอกสารฉบับนั้นใช้สำหรับทำอะไร เช่น " ใช้เฉพาะสมัครงานเท่านั้น "
2) นอกจากกำกับรายละเอียดการใช้แล้ว ยังต้องกำกับ วัน/เดือน/ปี เขียนลงบนสำเนาที่ใช้ด้วยนะคะ ซึ่งนั่นจะช่วยกำหนดอายุการใช้งานสำเนาของเราได้
3) ต้องเขียนข้อความทั้งหมดทับลงบนสำเนาส่วนที่เป็นบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาเอกสารอื่นๆที่สำคัญทั้งสามข้อคือวิธีเซ็นที่ถูกต้องในการรับรองสำเนาอย่างรัดกุม ไม่เปิดช่องทางให้กับมิจฉาชีพ เอาไปสร้างหนี้ให้กับเรา ต่อไปนี้ต้องระวัง เพราะคุณอาจเป็นรายต่อไป ที่จู่ๆก็มีหนี้ตามมาเคาะประตูถึงบ้าน รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมทำตามล่ะ
4) ในกรณี ที่เซ็นเอกสาร ต้องใช้ปากกาหมึกสีดำเท่านั้น ถึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะเครื่องถ่ายเอกสารบางเครื่องสามารถถ่ายเอกสารโดยดึงหมึกสีน้ำเงินออก เหลือใช้เฉพาะข้อความของบัตรประชาชน แล้วทำให้มิจฉาชีพ เซ็นเอกสารบัตรประชาชนนั้นแทนเราได้เลย ****เพราะฉะนั้นเราควรเซ็นด้วยปากกาสีดำเท่านั้น เพราะไม่สามารถดึงหมึกสีดำออกได้ หรือถ้าดึงสีดำออกได้ข้อความก็จะหายไปหมดเลยทั้งหน้าบัตรประชาชน