วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552
การบูร
ชื่อท้องถิ่น: อบเชยจีน
ถิ่นกำเนิด: จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน
ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น
ลักษณะ: ไม้ต้นขนาดกลางสูงประมาณ 10 - 15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเรียบ ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะที่รากและโคนต้น มีกลิ่นหอมมากกว่าส่วนอื่นๆ ตาใบมีเกล็ดซ้อนเหลื่อมหุ้มอยู่ เกล็ดชั้นนอก เล็กกว่าเกล็ดชั้นในตามลำดับ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 2-7 ซ.ม. ยาว 5-11 ซ.ม.ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียวแผ่นใบค่อนข้างเหนียว ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล เส้นแขนงใบ ข้างละ 2-3 เส้น คู่ล่างเห็นได้ชัดกว่าคู่บน และออกใกล้โคนใบ มีต่อม 2 ต่อม ที่ง่ามใบคู่ล่าง ก้านใบยาว 1.5-2.5 ซ.ม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบ ยาวประมาณ 7 ซ.ม. ใบประดับเรียวยาว ร่วงง่าย มีขนอ่อนนุ่ม ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้นมากยาวประมาณ 1 ม.ม. กลีบรวม 6 กลีบ รูปรี ปลายมน ยาวประมาณ 2 ม.ม.โคนติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ด้านในมีขนอ่อนนุ่ม เกสรเพศผู้ 9 อัน เรียงเป็น 3 วง วงนอกและวงกลางแยกออกจากกัน มีขนอ่อนนุ่ม ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.7-1.2 ซม. สีเขียวเข้ม เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ มี 1 เมล็ด
ประโยชน์: เมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของการบูรมากลั่นจะได้น้ำมันหอมระเหย สำหรับ camphor ใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ทำยาทาถูนวด แก้ปวดตามข้อ
การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น